หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องของแฮกเกอร์กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าแฮกเกอร์คืออะไร โดยแฮกเกอร์ ก็หมายถึงกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านของระบบคอมพิวเตอร์ และมีความเชี่ยวชาญในการเจาะเข้าระบบ ในการทำงานก็จะค้นหาพวกช่องโหว่ของระบบ แล้วเจาะเข้ามาในคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างความเสียหาย และทำลายระบบ รวมถึงยังสามารถช่วยในเรื่องของการประเมินความเสี่ยงระบบเครือข่าย ให้ทราบด้วยว่าควรที่จะปรับปรุงแก้ไขตรงไหน ทั้งนี้แฮกเกอร์ก็มีอยู่หลากหลายประเภทมาก ๆ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปทราบพร้อมกันในบทความนี้เลย

ประเภทของ แฮกเกอร์

1. White Hat Hackers คือ แฮกเกอร์ที่อยู่ทางด้านของความปลอดภัย ที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าถึงการละเมิดระบบได้อย่างถูกกฎหมาย โดยการมีขึ้นของแฮกเกอร์ประเภทนี้ก็มาจากการที่จะให้ช่วยเหลือรัฐบาล หรือบริษัทต่าง ๆ ในการพิจารณาถึงความปลอดภัยของระบบ และช่วยแก้ไขจุดอ่อน และช่องโหว่ให้กับระบบด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการโจมตีได้จากภายนอก

2. Black Hat Hackers คือ แฮกเกอร์ที่มีวัตถุประสงค์การเข้าถึงข้อมูลมในเชิงที่ไม่ดี โดยพยายามที่จะเข้าถึงระบบสารสนเทศให้ได้แบบไม่ถูกต้อง เช่น การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลองค์กร ทั้งนี้ถือว่าเป็นแฮกเกอร์ที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

3. Gray Hat Hackers คือ แฮกเกอร์ที่ไม่ได้ผ่านการรับรองจากทางรัฐบาล โดยการเจาะระบบนั้นก็ไม่อาจทราบได้ว่าจะเจตนาดี หรือไม่ดี แต่สิ่งที่โดดเด่นของแฮกเกอร์ประเภทนี้ก็อยู่ที่ แฮกเกอร์จะไม่ทำการขโมยข้อมูลหรือช่วยเหลือใคร เพียงแค่อยากจะเล่นกับระบบเพื่อหาข้อบกพร่องของรับเท่านั้น ซึ่งจะช่วยในเรื่องของฝึกฝีมือให้กับแฮกเกอร์นั่นเอง

4. Script Kiddies คือ แฮกเกอร์ที่ยังไม่ทราบถึงวิธีการแฮก แต่ได้นำเอาโปรแกรมที่สร้างขึ้นจากแฮกเกอร์คนอื่น ๆ ในการพยายามที่จะเข้าถึงระบบและเข้าถึงคอมพิวเตอร์ เครือข่าย รวมถึงเว็บไซต์ด้วย ซึ่งเป้าหมายของแฮกเกอร์กลุ่มนี้ก็เพียงแค่อยากเรียกร้องความสนใจเท่านั้น

5. Green Hat Hackers คือ แฮกเกอร์ที่จะทำการเรียนรู้การแฮกด้วยตัวเอง แต่เนื่องจากเป็นมือใหม่จึงทำให้ยังไม่มีความชำนาญมากพอในการแฮกเข้าระบบ

6. Blue Hat Hackers คือ แฮกเกอร์ที่จะเจาะเข้าระบบผู้เล่น เพื่อการแก้แค้นส่วนบุคคล

7. Red Hat Hackers คือ แฮกเกอร์ที่มีการใช้เส้นทางการแฮกแบบผิดกฎหมาย เพื่อใช้ในการจัดการกับ Black Hat Hackers

8. Hacktivist คือ แฮกเกอร์ที่นิรนาม ไม่ระบุตัวตน แต่มีความสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูล ไฟล์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ โดยเฉพาะของรัฐบาล ทั้งนี้ก็เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง หรือสังคม

9. State/Nation Sponsored Hacker คือ แฮกเกอร์ที่ทางรัฐว่าจ้างในการให้เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของประเทศอื่น ในการดึงความลับออกมา

10. Malicious Insider or Whistleblower คือ แฮกเกอร์ที่เป็นพนักงานของบริษัท หรือหน่วยงานรัฐที่ต้องการเปิดเผยข้อมูลความลับขององค์กรออกมา

จากทั้งหมดที่กล่าวไปนั้นก็เป็นประเภททั้งหมดของ แฮกเกอร์ ที่มีอยู่ในตอนนี้ โดยจะเห็นได้ว่านอกจากจะมีแฮกเกอร์ที่ต้องการทำในเรื่องที่ไม่ดีแล้ว ก็ยังมีแฮกเกอร์ที่ดี และช่วยเหลือด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะโอกาสที่จะโดนแฮกเกอร์เจาะเข้าระบบก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด และเกิดขึ้นได้กับทุกคนด้วย